อยากดูดวงฟรีๆ มาที่นี่ มหาหมอดูดอทคอม

ขณะนี้มีคน Online พร้อมกับคุณอยู่  74 คน ::: 

 
  พระอาจารย์ผมเอง
  พจนานุกรม ไทย<>บาลี
  ท่องขุมนรก
  ภาพอศุภะ เพื่อปลงสังขาร 
  ธรรมโซน dhama zone
  พ่อ-แม่บุพการีที่ยากจะทดแทน

  ภาพปริศนาธรรม
  กระดานสนทนาธรรม
  สารพัดคาถาอาคม (ศักดิ์สิทธิ์)
  ดาวน์โหลดธรรมะ
  พุทธประวัติ (ภาพสวยงาม)
 
  เว็บชาวพุทธยุคใหม่
  พลังจิต เว็บทางจิต
  ชีวิตสดใสด้วยธรรมะ
  ศากยบุตร
  คาถาธรรมบท (พุทธพจน์)
  พระไทยดอทเน็ต
  พระอาจารย์ต่างๆ
  วัดเกาะ
  แม่กองธรรมสนามหลวง
  ห้องสมุดธรรมะ
  สุตตันตปิฎก
  อภิธรรมปิฎก
  ลานธรรมเสวนา
  หอมรดกไทย
  สมาคมคนน่ารัก
  แจกซีดีธรรมะฟรี!
  ศาลาธรรม
  บ้านธรรมะ
  น่ากลัวมากๆ น่ากลัวอย่า!คลิก
  สำนักงานพุทธศาสนาฯ
  ศูนย์พิทักษ์พระพุทธฯ
  มจร. หนองคาย (มหาจุฬาฯ)
  ศึกษาภาษาบาลี
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 

 
 
 
 
 
 
 
   

(ธรรมบท พุทธพจน์ 3 ภาษา คือ บาลี ไทย อังฤกษ)
[คลิกที่นี่เพื่ออ่านพุทธพจน์ 3 ภาษา]
 
(พุทธพจน์ภาษาไทย)
 พุทธสุภาษิต จัดเรียงตามหมวด
หมวดที่

ว่าด้วยเรื่อง

หมวดที่
ว่าด้วยเรื่อง
หมวดที่
ว่าด้วยเรื่อง
1
ธรรมะเบื้องต้น
12
มิตร
23
ศรัทธา
2
บุคคล
13
คบหา
24
บุญ
3
การศึกษา
14
สร้างตัว
25
ความสุข
4
วาจา
15
การปกครอง
26
ธรรม
5
อดทน
16
สามัคคี
27
กรรม
6
ความเพียร
17
เกื้อกูลสังคม
28
กิเลส
7
ความโกรธ
18
พบสุข
29
บาป-เวร
8
การชนะ
19
ทาน
30
ทุกข์-พ้นทุกข์
9
ความประมาท
20
ศีล
31
ชีวิต-ความตาย
10
ความไม่ประมาท
21
จิต
32
พิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป
11
ตน-ฝึกตน
22
ปัญญา    

คลิกที่หัวข้อ "ว่าด้วยเรื่อง" ในหมวดนั้นๆ แล้วเลื่อนเมาส์ (สกรอลบาร์) ลงอ่านรายละเอียดด้านล่าง

พุทธสุภาษิต หมวดธรรม มีทั้งหมด 91 บทดังนี้
    1.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ท่านผู้ดับไป (คือปรินิพพาน) แล้ว ไม่มีประมาณ, จะพึงกล่าวถึงท่านนั้นด้วยเหตุใด เหตุนั้นของท่านก็ไม่มี, เมื่อธรรมทั้งปวง (มีขันธ์เป็นต้น) ถูกเพิกถอนแล้ว แม้คลองแห่งถ้อยคำที่จะพูดถึง ก็เป็นอันถูกเพิกถอนเสียทั้งหมด

    2.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
เขากล่าวว่า ฟ้ากับดินไกลกัน และ ฝั่งทะเลก็ไกลกัน แต่ธรรมของสัตบุรุษ กับของอสัตบุรุษไกลกันยิ่งกว่านั้น

    3.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
สมณพราหมณ์บางเหล่ากล่าวธรรมของตนว่าบริบูรณ์, แต่กล่าวธรรมของผู้อื่นว่าเลว (บกพร่อง), เขาย่อมทะเลาะวิวาทกัน แม้ด้วยเหตุนี้ เพราะต่างก็กล่าวข้อสมมุติของตน ๆ ว่าเป็นจริง

    4.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
พึงขจัดปัญหาที่เป็นเหตุถือมั่นทั้งปวง ทั้งเบื้องสูง เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ท่ามกลาง, เพราะเขาถือมั่นสิ่งใด ๆ ในโลกไว้ มารย่อมติดตามเขาไป เพราะสิ่งนั้น ๆ

    5.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
จงเด็ดเยื่อใยของตนเองเสีย เหมือนเอาฝ่ามือเด็ดบัวในฤดูแล้ง จงเพิ่มพูนทางสงบ (ให้ถึง) พระนิพพานที่พระสุคตแสดงแล้ว

    6.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ราชรถอันงดงามย่อมคร่ำคร่า แม้ร่างกายก็เข้าถึงชรา ส่วนธรรมของสัตบุรุษย่อมไม่เข้าถึงชรา สัตบุรุษ กับสัตบุรุษเท่านั้นย่อมรู้กันได้

    7.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
บรรดาทางทั้งหลาย ทางมีองค์ 8 ประเสริฐสุด บรรดาสัจจะทั้งหลาย บท 4 ประเสริฐสุด, บรรดาธรรมทั้งหลาย วิราคธรรม ประเสริฐสุด, และ บรรดาสัตว์ 2 เท้าทั้งหลาย พระพุทธเจ้าผู้มีจักษุ ประเสริฐสุด

    8.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
บุคคลย่อมเข้าถึงความเป็นกษัตริย์ ด้วยพรหมจรรย์อย่างเลว, ถึงความเป็นเทวดา ด้วยพรหมจรรย์อย่างกลาง, ย่อมบริสุทธิ์ ด้วยพรหมจรรย์อย่างสูง

    9.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ผู้ใดปรารถนาโภคทรัพย์ อายุ ยศ สุข อันเป็นทิพย์, ผู้นั้นพึงงดเว้นบาปทั้งหลาย แล้วประพฤติสุจริตธรรม 3 อย่าง

    10.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ผู้ใดฟังธรรมแม้น้อย ย่อมเห็นธรรมด้วยกาย ผู้ใดไม่ประมาทธรรม ผู้นั้นแล ชื่อว่าผู้ทรงธรรม

    11.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ผู้ละปัญจธรรมที่ทำให้เนิ่นช้าได้แล้ว ยินดีในธรรม ที่ไม่มีสิ่งทำให้เนิ่นช้า ผู้นั้นก็บรรลุพระนิพพาน อันปลอดจากโยคะ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า

    12.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
กระแสเหล่าใดมีอยู่ในโลก สติเป็นเครื่องกันกระแสเหล่านั้น เรากล่าวว่าสติเป็นเครื่องกั้นกระแส กระแสเหล่านั้นอันบุคคลปิดกั้นได้ด้วยปัญญา

    13.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ภิกษุผู้เห็นโทษในกาม มีความประพฤติประเสริฐ ปราศจากตัณหา มีสติทุกเมื่อ พิจารณาแล้ว ดับกิเลสแล้ว ย่อมไม่มีความหวั่นไหว

    14.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
เบญจขันธ์ที่กำหนดรู้แล้ว มีรากขาดตั้งอยู่ ถึงความสิ้นทุกข์แล้ว ก็ไม่มีภพต่อไปอีก

    15.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
มหาราช ธรรมเป็นทาง (ควรดำเนินตาม) ส่วนอธรรม นอกลู่นอกทาง (ไม่ควรดำเนินตาม) อธรรมนำไปนรก ธรรมให้ถึงสุคติ

    16.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
พระนิพพานที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว ไม่มีโศก ปราศจากธุลี เกษม เป็นที่ดับทุกข์ เป็นสุขดีหนอ

    17.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
เราตถาคต ไม่เห็นความสวัสดีของสัตว์ทั้งหลาย นอกจากปัญญา ความเพียร ความระวังตัว และ การสละสิ่งทั้งปวง

    18.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ทุกข์เท่านั้นเกิดขึ้น ทุกข์ย่อมตั้งอยู่ และเสื่อมไป นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับ

    19.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
พึงนั่งใกล้ผู้เป็นพหูสูต และ ไม่พึงทำสุตะให้เสื่อม สุตะเป็นรากแห่งพรหมจรรย์ เพราะฉะนั้นควรเป็นผู้ทรงธรรม

    20.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ไม่ควรเสพธรรมที่เลว ไม่ควรอยู่กับความประมาท ไม่ควรเสพมิจฉาทิฏฐิ ไม่ควรเป็นคนรกโลก

    21.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
บุคคลควรเตือนกัน ควรสอนกัน และ ป้องกันจากคนไม่ดี เพราะเขาย่อมเป็นที่รักของคนดี แต่ไม่เป็นที่รักของคนไม่ดี

    22.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ผู้ถูกราคะย้อม ถูกกองมืด (อวิชชา) ห่อหุ้มแล้ว ย่อมไม่เห็นธรรม สำหรับฝืนใจอันละเอียดลออ ลึกซึ้ง ซึ่งเห็นได้ยาก

    23.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ท่านผู้มีทางไกลอันถึงแล้ว หายโศก หลุดพ้นแล้วในธรรมทั้งปวง ละกิเลศเครื่องรัดทั้งปวงแล้ว ย่อมไม่มีความเร่าร้อน

    24.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
คนมีตัณหาเป็นเพื่อน ท่องเที่ยวอยู่ช้านาน ไม่ล่วงพ้นสงสารที่กลับกลอกไปได้

    25.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
พึงเป็นผู้พอใจ และ ประทับใจ ในพระนิพพานที่บอกไม่ได้ ผู้มีจิตไม่ติดกาม ท่านเรียกว่า ผู้มีกระแสอยู่เบื้องบน

    26.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
กษัตริย์ พราหมณ์ แพทย์ ศูทร จัณฑาล และ คนงานชั้นต่ำ ประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว ย่อมเป็นผู้เสมอกันในสวรรค์ชั้นไตรทิพย์

    27.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ผู้ใดประกอบในธรรมวินัยของพระทศพล มีความขวนขวายน้อย พากเพียรละ ความเกิดความตาย ผู้นั้นย่อมบรรลุพระนิพพาน

    28.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
กษัตริย์ไม่ทรงตั้งอยู่ในธรรม คนสามัญไม่อาศัยธรรม ชนทั้ง 2 นั้นละโลกแล้ว ย่อมเข้าถึงทุคติ

    29.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
นามและรูปย่อมดับไม่เหลือในที่ใด ปัญญา สติ และนามรูปนี้ย่อมดับในที่นั้น เพราะวิญญาณดับ

    30.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
เมื่อพระพุทธเจ้าผู้ทำความสว่างเกิดขึ้นในโลก, พระองค์ย่อมประกาศธรรมสำหรับดับทุกข์นี้

    31.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ผู้ใดสอนธรรมแก่คนที่ปฏิบัติไม่ถูก ถ้าเขาทำตามคำของผู้นั้น จะไม่ไปสู่ทุคติ

    32.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ผู้มีปัญญาทราม มีจิตใจกระด้าง ถึงฟังคำสอนของพระชินเจ้า ก็ยังห่างไกลจากพระสัทธรรม เหมือนดินกับฟ้า

    33.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ผู้ถึงพร้อมด้วยสัมมัปปธาน มีสติปัฏฐานเป็นอารมณ์ ดารดาษด้วยดอกไม้คือวิมุติติ หาอาสวะมิได้ จักปรินิพพาน

    34.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
โสรัจจะ และ อวิหิงสานั้น เป็นช้างเท้าหลัง สติ และ สัมปชัญญะนั้น เป็นช้างเท้าหน้า

    35.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ผู้มีจิตสงบ มีปัญญาเครื่องรักษาตัว มีสติ เป็นผู้เพ่งพินิจ ไม่เยื่อใยในกาม ย่อมเห็นธรรมโดยชอบ

    36.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ผู้ใดไม่มีความเคารพในเพื่อนพรหมจารี, ผู้นั้นย่อมห่างจากประสัทธรรม เหมือนฟ้ากับดินฉะนั้น

    37.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ชนเหล่าใดประพฤติธรรม ในธรรมที่พระพุทธเจ้ากล่าวดีแล้ว ชนเหล่านั้น จักข้ามแดนมฤตยูที่ข้ามได้ยาก

    38.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง สังขารเป็นทุกข์อย่างยิ่ง รู้ข้อนั้นตามเป็นจริงแล้ว ดับเสียได้ เป็นสุขอย่างยิ่ง

    39.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ผู้ฉลาดนั้นเป็นผู้เพ่งพินิจ มีเพียรติดต่อ บากบั่นมั่นคงเป็นนิตย์ ย่อมถูกต้องพระนิพพาน อันปลอดจากโยคะ หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้

    40.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
สัจจะ ธรรมะ อหิงสะ สัญญมะ และ ทมะ มีอยู่ในผู้ใด อารยชนย่อมคบผู้นั้น นั่นเป็นธรรมอันไม่ตายในโลก

    41.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ผู้ไม่คดโกง ไม่พูดเพ้อ มีปรีชา ไม่หยิ่ง มีใจมั่นคงนั้นแล ย่อมงดงามในธรรม ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว

    42.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ศีลเป็นเบื้องต้น เป็นที่ตั้งอาศัย เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย เป็นประมุขของธรรมทั่วไป ฉะนั้นควรชำระศีลให้บริสุทธิ์

    43.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ผู้มีจิตใจตั้งมั่น ย่อมไม่เบียดเบียนคนอื่น และ แม้ตนเอง

    44.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
สติ คือความตื่นในโลก

    45.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
คนมีสติ ย่อมดีขึ้นทุกวัน

    46.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
เกียรติ ย่อมไม่ละผู้ตั้งอยู่ในธรรม

    47.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ผู้ตั้งมั่นอยู่ในสัทธรรม เป็นผู้เกื้อกูลแก่คนทั้งปวง

    48.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า

    49.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ผู้ประพฤติธรรม อยู่เป็นสุข

    50.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ผู้มีปิติในธรรม อยู่เป็นสุข

    51.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ศีลเป็นอาภรณ์อันประเสริฐ

    52.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ผู้ตั้งอยู่ในธรรม ย่อมไม่ทำบาป

    53.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
พึงเลือกเฟ้นธรรมโดยแยบคาย

    54.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ความกตัญญูกตเวทีเป็นเครื่องหมายของคนดี

    55.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
คนมีสติ เท่ากับมีสิ่งนำโชคอยู่ตลอดเวลา

    56.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ความสะอาด รู้ได้ด้วยคำพูด

    57.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ศรัทธา เป็นเพื่อนแท้ของคน

    58.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ทำไม่ได้ อย่าพูด

    59.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ทุกข์ ย่อมไม่ตกถึงผู้หมดกังวล

    60.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ควรเคารพสัทธรรม

    61.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ธรรมที่ประพฤติดีแล้ว นำสุขมาให้

    62.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ธรรมของสัตบุรุษ อันสัตบุรุษควรรักษา

    63.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ธรรมะ ย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม

    64.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ผู้ตกอยู่ในอำนาจแห่งจิต ย่อมเดือดร้อน

    65.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ศีล พึงรู้ได้ด้วยการอยู่ร่วมกัน

    66.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ความกตัญญูกตเวที เป็นพื้นฐานของคนดี

    67.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
พูดอย่างใด ทำอย่างนั้น

    68.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ศีล ยอดเยี่ยมในโลก

    69.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
เมื่อจิตเศร้าหมอง มีหวังไปทุคติ

    70.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
การฝึกจิต เป็นการดี

    71.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
โลก ถูกจิตนำไป

    72.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ถึงพูดดี ก็ไม่ควรพูดเกินเวลา

    73.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ทำได้แล้วค่อยพูด

    74.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
คนไม่มีที่พึ่ง อยู่เป็นทุกข์

    75.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ปราชญ์ พึงรักษาศีล

    76.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ผู้แพ้ ย่อมอยู่เป็นทุกข์

    77.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
การระมัดระวังใจ เป็นความดี

    78.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
การระมัดระวังกาย เป็นความดี

    79.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ผู้มีปัญญา พึงรักษาจิต

    80.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
เมื่อจิตไม่เศร้าหมอง มีหวังไปสุคติ

    81.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
บัณฑิตควรละธรรมดำเสีย

    82.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ศีล เป็นเกราะอย่างอัศจรรย์

    83.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
บัณฑิตควรเจริญธรรมขาว

    84.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
สัจจะ เป็นรสดียิ่งกว่าประดารสทั้งหลาย

    85.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
พึงประพฤติธรรมให้สุจริต ไม่พึงประพฤติให้ทุจริต

    86.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ธรรมของสัตบุรุษ รู้ได้ยาก

    87.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ธรรมแล เป็นธงชัยของพวกฤษี

    88.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ผู้ประพฤติธรรม ไม่ไปสู่ทุคติ

    89.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ธรรมของสัตบุรุษ ไม่เข้าถึงความคร่ำคร่า

    90.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
สิ่งทั้งหลายทั้งปวง ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น

    91.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ธรรม เหมือนห้วงน้ำไม่มีตม


 

ค้นพบหัวข้อธรรมทั้งหมด 183/183 หัวข้อธรรม
แสดงหัวข้อธรรมหน้าละ 20 หัวข้อธรรม ขณะนี้คุณอยู่หน้าที่ 1/10
|<หน้าแรก    <ก่อนหน้านี้    หน้าต่อไป>    หน้าสุดท้าย>|
หน้า 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10

หมวด : คำนำ
หัวข้อที่ : 1 บทนำ

คำกลอน

หัวข้อธรรมประเภทนี้มีไว้สำหรับใช้เพ่ง
เพื่อให้เห็นข้อเท็จจริงแห่งข้อความนั้น
แล้วเพ่งต่อไปเพื่อให้เกิดความรู้สึกเช่นนั้นขึ้นมาจริง ๆ
จนจิตใจเปลี่ยนไปตามข้อเท็จจริงนั้น
ในการที่จะทำให้เกิดความสลดสังเวชความไม่ประมาท
การเปลี่ยนนิสัยที่ไม่พึงปรารถนา
กวาดล้างความรู้สึกที่ทำความรำคาญต่าง ๆ ให้แก่ตน
ให้หมดไปจากจิตใจ
เพื่อให้เกิดความสะอาด ความสว่าง และความสงบ
โดยสมควรแก่การกระทำของตน ๆ

ความรู้ ความเข้าใจ ที่เกิดจากการเพ่งทำนองนี้จะถูกต้อง
และมีประโยชน์กว่าที่เกิดจากการอ่านตะพึด
และยังเป็นการปฏิบัติธรรมฐานภาวนาชนิดหนึ่งอยู่ในตัว

ทั้งสมาธิ และ ปัญญาในระดับที่คนทั่วไปจะพึงทำได้
และพร้อมกันนั้นก็เป็นศีลอยู่แล้ว
ในขณะที่มีการสังวรระวัง บังคับตัวเองให้ทำเช่นนั้น
ไม่มีโอกาสแก่การทุศีลแต่ประการใด
หมวด : บทนำ
หัวข้อที่ : 2 บทนำ

คำกลอน

คำประพันธ์ บทพระธรรม ไม่จำเพาะ
ว่าจะต้อง, ไพเราะ เพราะอักษร
หรือ สัมผัส ช้อยชด แห่งบทกลอน
ที่อรชร ฯ เชิงกวี ตามนิยมฯ

ขอแต่เพียง ให้อรรถ แห่งธรรมะ
ได้แจ่มจะ ถนัดเห็น เป็นปฐม
แล้วได้รส แห่งพระธรรม ด่ำอารมณ์
ที่อาจบ่ม เบิกใจ ให้เจริญ ฯ

ให้นิสัย เปลี่ยนใหม่ จากก่อนเก่า
ไม่ซึมเศร้า สุขสง่า น่าสรรเสริญ
เป็นจิตกล้า สามารถ ไม่ขาดเกิน
ขอชวนเชิญ ชมธรรมรส งดกวี ฯ
หมวด : การงาน
หัวข้อที่ : 3 การงานคือการปฏิบัติธรรม

คำกลอน

หัวข้อธรรมประเภทนี้มีไว้สำหรับใช้เพ่ง
เพื่อให้เห็นข้อเท็จจริงแห่งข้อความนั้น
แล้วเพ่งต่อไปเพื่อให้เกิดความรู้สึกเช่นนั้นขึ้นมาจริง ๆ
จนจิตใจเปลี่ยนไปตามข้อเท็จจริงนั้น
ในการที่จะทำให้เกิดความสลดสังเวชความไม่ประมาท
การเปลี่ยนนิสัยที่ไม่พึงปรารถนา
กวาดล้างความรู้สึกที่ทำความรำคาญต่าง ๆ ให้แก่ตน
ให้หมดไปจากจิตใจ
เพื่อให้เกิดความสะอาด ความสว่าง และความสงบ
โดยสมควรแก่การกระทำของตน ๆ

ความรู้ ความเข้าใจ ที่เกิดจากการเพ่งทำนองนี้จะถูกต้อง
และมีประโยชน์กว่าที่เกิดจากการอ่านตะพึด
และยังเป็นการปฏิบัติธรรมฐานภาวนาชนิดหนึ่งอยู่ในตัว

ทั้งสมาธิ และ ปัญญาในระดับที่คนทั่วไปจะพึงทำได้
และพร้อมกันนั้นก็เป็นศีลอยู่แล้ว
ในขณะที่มีการสังวรระวัง บังคับตัวเองให้ทำเช่นนั้น
ไม่มีโอกาสแก่การทุศีลแต่ประการใด
หมวด : การงาน
หัวข้อที่ : 4 การงานเป็นสิ่งที่น่ารัก

คำกลอน

อันที่จริง การงาน นั้นน่ารัก
เมื่อยังไม่ รู้จัก ก็อางขนาง (คือไม่ชอบ)
ไม่รู้จัก ก็ปล่อยปละ แล้วละวาง
บ้างร้องคราง เมื่อรอหน้า ว่าเบื่อจริง

แต่ที่แท้ การงาน นั้นน่ารัก
สอนให้คน รู้จัก ไปทุกสิ่ง
ถ้ายิ่งทำ ยิ่งฉลาด ไม่พลาดยิง
ได้ตรงดิ่ง สิ่งอุกฤษฏ์ คือจิตเจริญ

การงานนี้ ดูให้ดี มันน่ารัก
เป็นการชัก ธรรมะมา น่าสรรเสริญ
คือมีสติ ฉันทะ ทมะเกิน
ครั้นหยุดเพลิน จิตก็วาง ทางนิพพาน
หมวด : การงาน
หัวข้อที่ : 5 การงานทำให้ชีวิตสดใส

คำกลอน

อันการงาน นั้นประเสริฐ ตรงที่สนุก
ยิ่งทำงาน ยิ่งเป็นสุข ทุกสถาน
ทำชีวิต ให้สดใจ ใจเบิกบาน
ในการงาน ประจำวัน นั่นเองนา

เมื่ออย่างนี้ มีแต่คน วิวลจิต
เย็นสนิท ดวงใจ ไร้โทสา
เกิดสังคม ที่อุดม ด้วยเมตตา
อยากเรียกว่า ธัมมิกะ สังคมนิยม

ผลของงาน ล้นเหลือ เผื่อแผ่ทั่ว
สัตว์ทุกตัว ใหญ่น้อย พลอยสุขสม
ทั้งเมืองเล็ก เมืองใหญ่ ได้ชื่นชม
โลกระดม สุขวาง ทางนิพพาน
หมวด : การงาน
หัวข้อที่ : 6 การงาน

คำกลอน

อันการงาน คือค่า ของมนุษย์
ของมีเกียรติ สูงสุด อย่าสงสัย
ถ้าสนุก ด้วยการงาน เบิกบานใจ
ไม่เท่าไร รู้ธรรม ฉ้ำซึ้งจริง

ตัวการงาน คือตัวการ ประพฤติธรรม
พร้อมกันไป หลายส่ำ มีค่ายิ่ง
ถ้าจะเปรียบ ก็เหมือนคน ฉลาดยิง
นัดเดียววิ่ง เก็บนก หลายพกเอยฯ
หมวด : การงาน
หัวข้อที่ : 7 กิเลสคุย

คำกลอน

คุยเสียดี ที่แก้ แพ้กิเลส
น่าสมเพช เตือนเท่าไหร่ ก็ไม่เห็น
ว่าเป็นทาส กิเลส อยู่เช้าเย็น
จะอวดเป็น ปราชญ์ไป ทำไมนา

ค้นธรรมะ หาทางออก อุ้มกิเลส
น่าสมเพช จริง ๆ เที่ยววิ่งหา
ตำรานี่ ตำรานั่น สรรหามา
ได้เป็นข้า กิเลสไป สมใจเอย ฯ
หมวด : การงาน
หัวข้อที่ : 8 จริงซี่!

คำกลอน

จริงซี ! เราบ้าบอก ธรรมกัน
เพาะเหตุ ที่ธรรมนำ โลกแล้
ห่างทุกข์ สบศุขทัน ใจอยาก
เป็นศุข ที่เที่ยงแท้ จุ่งเห็น ฯ

ธรรม, ธรรม, ธรรม ,เท่านั้น ที่สมาน
โลกนี้ โลกหน้า เย็นยิ่งน้ำ
ใครคบ เสพธรรมฐาน คู่ชีพ
ตนสุข , เมีย , ลูก , ซ้ำ สุขตาม ฯ
หมวด : การงาน
หัวข้อที่ : 9 บ้าดี

คำกลอน

ยิ่งทำดี จะยิ่งมี นรกมาก
ถ้าใจอยาก ดีเด่น เป็นเจ้าขรัว
ให้ผู้คนทั้งผอง ต้องยอมกลัว
คือยอมตัว อยู่ใต้ ปัญญายง;

ไม่ต้องการ มรรผล ดลนิพพาน
คงต้องการ แต่ให้ เขาช่วยส่ง
ให้ลอยลม ล่วงไป จมไม่ลง
ต้องประสงค์ แต่เท่านี้ : “บ้าดี” เอยฯ
หมวด : การงาน
หัวข้อที่ : 10 ช่างหัวมัน

คำกลอน

จงยืนกราน สลัดทั่ว ช่างหัวมัน
ถ้าเรื่องนั้น นั้นเป็นเหตุ แห่งทุกข์หนา
อย่าสำออย ตะบอยจัด ไว้อัตรา
ตัวกูกล้า ขึ้นเรือย ๆ อัดใจตาย

เรื่องนั้นนิด เรื่องนี้หน่อย ลอยมาเอง
ไปบวกเบ่ง ให้เห็นว่า จะฉิบหาย
เรื่องเล็กน้อย ตะบอยเห็น เป็นมากมาย
แต่ละราย รีบเขวี้ยงขว้าง ช่างหัวมัน

เมื่อตัวก็ ลู่หลุบ ลงเท่าไร
จะเย็นเยือก ลงไป ได้เท่านั้น
รอดตัวได้ เพราะรู้ใช้ “ช่างหัวมัน”
จงพากัน หัดใช้ ไว้ทุกคน ฯ
หมวด : การงาน
หัวข้อที่ : 11 อย่าช่างหัวมัน

คำกลอน

อย่าบิ่นบ้า มัวแต่อ้าง ช่างหัวมัน
ถ้าเรื่องนั้น เกี่ยวกับเพื่อน มนุษย์หนา
ต้องเอื้อเฟื้อ ปฏิบัติ เต็มอัตรา
โดยถือว่า เป็นเพื่อน เกิด - แก่เจ็บตาย

การช่วยเหลือ เหมือนช่วย ตัวเราเอง
เมื่อจิตเพ่ง- เล็งช่วย ทวยสหาย
ย่อมลดความ เห็นแก่ตัว ลงมากมาย
ทุกทุกราย อย่าเขวี้ยวขว้าง ช่างหัวมัน

เห็นแก่ตัว บางเบา ลงเท่าไร
ยิ่งเข้าใกล้ พระนิพพาน เห็นปานนั้น
รอดตัวได้ เพราะไม่มัว ช่างหัวมัน
จงพากัน ใคร่ครวญ ถ้วนทุกคน ฯ
หมวด : การงาน
หัวข้อที่ : 12 ปิด –ปิด –ปิด

คำกลอน

ปิด-ปิดตา: อย่าสอดส่าย ให้เกิดเหตุ
บางประเภท แกล้งทำบอด ยอดกุศล
มัวสอดรู้ สอดเห็น จะเป็นคน
เอาไฟลน ตนไป จนใหม้พอง ;

ปิด-ปิดหู: อย่าให้แส่ ไปฟังเรื่อง
ที่เป็นเครื่อง กวนใจ ให้หม่นหมอง
หรือเร้าใจ ให้ฟุ้งซ่าน พาลลำพอง
ผิดทำนอง คนฉลาด อนาถใจ ;

ปิด-ปิดปาก: อย่าพูดมาก เกินจำเป็น
จะเป็นคน ปากเหม็น เขาคลื่นใส้
ต้องเกิดเรื่อง เยิ่นเย้อ เสมอไป
ถ้าหุบปาก มากไว้ ได้แท่งทองฯ
หมวด : การงาน
หัวข้อที่ : 13 เปิด –เปิด –เปิด

คำกลอน

เปิด-ปิดตา: ให้รับแสง แห่งพระธรรม
ยิ่งมืดค่ำ ยิ่งเห็นชัด ถนัดถนี่
สมาธิมาก ยิ่งเห็นชัด ถนัดดี
นี่วิธี เปิดตาใจ ใช้กันมาฯ

เปิด-ปิดหู: ให้ยินเสียง สำเนียงธรรม
ทั้งเช้าค่ำ มีก้องไป ในโลกหล้า
ล้านล้านปี ฟังให้ชัด เต็มอัตรา
คือเสียงแห่ง สุญญตา ค่าสุดใจฯ

เปิด-ปิดปาก: สนทนา พูดจาธรรม
วันยังค่ำ อย่าพูด เรื่องเหลวไหล
พูดแต่เรื่อง ดังทุกข์ได้ โดยสัจจนัย
ไม่เท่าไร เราทั้งโลก พ้นโศกแลฯ
หมวด : การงาน
หัวข้อที่ : 14 นั่งริมธาร

คำกลอน

นั่งริมธาร ครุ่นวิจาร การเกิดดับ
เปลี่ยนปุบปับ สายธาร ทะยานไหล
เกิดไอเย็น ฟ่องฟุ้ง จรุงใจ
ดับร้อนได้ โดยไม่ต้อง ลองอาบกิน

อิกทางหนึ่ง ตลึงแล แน่ใจนัก
ถ้าใครผลัก ตกลง คงแดดิ้น
กระทบก้อน หินผา ใต้วาริน
แล้วจะสิ้น ชีพไป ในวังวน

มานึกดูเปรียบดั่ง สังสารวัฏฏ์
ดูผาดๆ น่ากระหวัด ในลาภผล
ที่ซ่อนอยู่ ในทุกข์ ปลุกใจคน
ให้ยอมทน ทุกข์ยาก บากบั่นไป

จนได้เกิด แต่ตาย ในวัฏฏะ
ไม่มีสะ ใจสร่าง อย่างไหน ๆ
ใครมองเห็น จงระวัง ยั้งจิตใจ
อย่าให้ไพล่ พลัดตก นรกวน
หมวด : การงาน
หัวข้อที่ : 15 ยาระงับสรรพทุกข์

คำกลอน

ต้น “ไม่รู้-ไม่ชี้” นี่เอาเปลือก
ต้น “ชั่งหัวมัน” นั้นเลือก เอาแก่นแข็ง
“อย่างนั้นเอง” เอาแต่ราก ฤทธิ์มันแรง
“ไม่มีกู-ของกู” แสวง เอาแต่ใบ

“ไม่น่าเอา-น่าเป็น” เฟ้นเอาดอก
“ตายก่อนตาย” เลือกเอา ลูกใหญ่ ๆ
หกอย่างนี้ อย่างละชั่ง ตั้งเกณฑ์ไว้
“ดับไม่เหลือ” สิ้งสุดท้าย ใช้เมล็ดมัน

หนักหกชั่ง เท่ากับ ยาทั้งหลาย
เคล้ากันไป เสกคาถา ที่อาถรรพ์
“สัพเพ ธัมมา นาลัง อภินิเวสาย” อัน
เป็นธรรมนั้น หฤทัย ในพุทธนาม

จัดลงหม้อ ใส่น้ำ พอท่วมยา
เคี่ยวไฟกล้า เหลือได้ หนึ่งในสาม
หนึ่งช้อนชา สามเวลา พยายาม
กินเพื่อความ หมดสรรพโรค เป็นโลกอุด
หมวด : การงาน
หัวข้อที่ : 16 นั่งเหนือเมฆ

คำกลอน

รู้สึกว่า น่าดู อยู่เหนือเมฆ
แสนวิเวก สุขใจ ดั่งในฝัน
เมื่อเมฆนอก เมฆใน ไม่พัวพัน
เป็นสุขครัน สิ่งใด ไม่มีปาน

นั่งเหนือเมฆ แล้วบางคน ยังก่นเศร้า
อะไรเล่า ติดมา ลองว่าขาน
หรือเงินทอง ติดตัง ทั้งการงาน
ก็ตามมา รังควาญ เป็นถ่านไฟ

เห็นไหมเล่า เมฆหมอก ยังหลอกลวง
ดึงใครล่วง เลยได้ ก็ไม่ไหว
ยังไม่พ้น ทุกข์ทน หม่นหมองใจ
พ้นเมฆใน จึงจะเอก วิเวกจริง

ดูป่วยการ ที่จะผ่าน เพียงเมฆกาย
ไม่ทุกข์ทน มากมาย ดอกชายหญิง
ส่วนเมฆจิต ปิดบัง ควรชังชิง
ยิ่งกว่าลิง หลอดเจ้า ทำเราเพลีย

อันเมฆกาย ที่จะกลาย เป็นเมฆจิต
ก็เพราะความ ขุ่นคิด จนจิตเสีย
ถ้ารู้เท่า ทันทั่ว ไม่งัวเงีย
หยุดนัวเนีย ก็เย็นเหลือ เหนือเมฆเอ
หมวด : การงาน
หัวข้อที่ : 17 อะไรที่ไหน

คำกลอน

อันความงาน มีอยู่ตาม หมู่ซากผี
อันความดี อยู่ที่ละ สละยิ่ง
ความเป็นพระ อยู่ที่เพียร บวชเรียนจริง
นิพพานดิ่ง อยู่ที่ตาย ก่อนตายเอยฯ
หมวด : เตือนตน
หัวข้อที่ : 18 หลักของคนทุกวันนี้

คำกลอน

ถ้าเอาเปรียบ เขาไม่ได้ ก็ว่า “ไม่ถูก”
ถ้าจูงจมูล ได้ทุกที ก็ว่า “ดีเหลือ”
ถึงวันดี เกิดมี เกลือจิ้มเกลือ
ร้องว่า “เบื่อ” โลกอะไร? ไม่เป็นธรรม

คนพวกนี้ มีโลก ของตัวเอง
ไปตามเพลง ของกิเลส ที่อุปถัมภ์
ไม่ยอมรับ อะไรหมด แม้กฏกรรม
ความเป็นธรรม นั้นคือ “ได้ ตามใจตัว”

ไกลจากสัตว์ ไปทุกที ที่ว่าเจริญ
หาส่วนเกิน มาเทิดไว้ ใส่เกล้าหัว
ใช้สงคราม ตัดสินความ ไม่คร้ามกลัว
ว่าความชั่ว จะไหม้โลก เป็นโคกไฟฯ
หมวด : เตือนตน
หัวข้อที่ : 19 ยึดมั่นมันกัด

คำกลอน

ชอบยึดมั่น ระวังมัน จะกัดเอา
เพราะความเขลา ยึดมั่น มีตัณหา
อุปาทาน กอดรัด มัดวิญญาณ์
อยู่ดีดี ก็เป็นบ้า มาทันที

ยึดสิ่งใด สิ่งนั้น แหละมันกัด
กิน,กาม,เกียรติ สารพัด กลีหรือ ศรี
หรือแม้บุตร ภรรยา และ สามี
ความชั่วดี บุญหรือบาป จงทราบกัน

แม้รสสุข ที่อร่อย อยู่กับใจ
ชั่นที่อร่อย แน่นิ่งไป, ถ้ายึดมั่น
จะกลายเป็น ยักษา ขึ้นมาพลัน
แล้วห้ำหั่น กัดเอา อย่าเขลา
หมวด : เตือนตน
หัวข้อที่ : 20 บาปใหญ่-บาป

คำกลอน

คิดว่าดี กว่าเขา ซิเราแย่
มันเพียงแต่ ดีกว่าคน ที่บาปใหญ่
ส่วนตัวเอง บาปลึก นึกให้ไกล
มันบาปเบา อยู่เมื่อไร ให้นึกดู

เขาติดซ้าย, เราติดขวา, ถ้ามานึก
มันยังติด เหลือลึก กันทั้งคู่
แม้ติดซ้าย เลวกว่า ไม่น่าดู
แต่ติดขวา มันก็หรู อยู่เมื่อไร

มันเพียงแต่ ดีกว่าคน ที่ยังเลว
ส่วนตัวเอง ก็ยังเหลว ไม่ไปไหน
เฝ้าเกลียดซ้าย รักขวา เป็นบ้าใจ
มันก็ไฟล่ พลัดห่าง ทางนิพพานฯ

ค้นพบหัวข้อธรรมทั้งหมด 183/183 หัวข้อธรรม
แสดงหัวข้อธรรมหน้าละ 20 หัวข้อธรรม ขณะนี้คุณอยู่หน้าที่ 1/10
|<หน้าแรก    <ก่อนหน้านี้    หน้าต่อไป>    หน้าสุดท้าย>|
หน้า 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10

 
 
 
 
 
 
 
 

ขณะนี้มีคน Online อยู่  74 คน