อยากดูดวงฟรีๆ มาที่นี่ มหาหมอดูดอทคอม

ขณะนี้มีคน Online พร้อมกับคุณอยู่  950 คน ::: 

 
  พระอาจารย์ผมเอง
  พจนานุกรม ไทย<>บาลี
  ท่องขุมนรก
  ภาพอศุภะ เพื่อปลงสังขาร 
  ธรรมโซน dhama zone
  พ่อ-แม่บุพการีที่ยากจะทดแทน

  ภาพปริศนาธรรม
  กระดานสนทนาธรรม
  สารพัดคาถาอาคม (ศักดิ์สิทธิ์)
  ดาวน์โหลดธรรมะ
  พุทธประวัติ (ภาพสวยงาม)
 
  เว็บชาวพุทธยุคใหม่
  พลังจิต เว็บทางจิต
  ชีวิตสดใสด้วยธรรมะ
  ศากยบุตร
  คาถาธรรมบท (พุทธพจน์)
  พระไทยดอทเน็ต
  พระอาจารย์ต่างๆ
  วัดเกาะ
  แม่กองธรรมสนามหลวง
  ห้องสมุดธรรมะ
  สุตตันตปิฎก
  อภิธรรมปิฎก
  ลานธรรมเสวนา
  หอมรดกไทย
  สมาคมคนน่ารัก
  แจกซีดีธรรมะฟรี!
  ศาลาธรรม
  บ้านธรรมะ
  น่ากลัวมากๆ น่ากลัวอย่า!คลิก
  สำนักงานพุทธศาสนาฯ
  ศูนย์พิทักษ์พระพุทธฯ
  มจร. หนองคาย (มหาจุฬาฯ)
  ศึกษาภาษาบาลี
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 

 
 
 
 
 
 
 
   

(ธรรมบท พุทธพจน์ 3 ภาษา คือ บาลี ไทย อังฤกษ)
[คลิกที่นี่เพื่ออ่านพุทธพจน์ 3 ภาษา]
 
(พุทธพจน์ภาษาไทย)
 พุทธสุภาษิต จัดเรียงตามหมวด
หมวดที่

ว่าด้วยเรื่อง

หมวดที่
ว่าด้วยเรื่อง
หมวดที่
ว่าด้วยเรื่อง
1
ธรรมะเบื้องต้น
12
มิตร
23
ศรัทธา
2
บุคคล
13
คบหา
24
บุญ
3
การศึกษา
14
สร้างตัว
25
ความสุข
4
วาจา
15
การปกครอง
26
ธรรม
5
อดทน
16
สามัคคี
27
กรรม
6
ความเพียร
17
เกื้อกูลสังคม
28
กิเลส
7
ความโกรธ
18
พบสุข
29
บาป-เวร
8
การชนะ
19
ทาน
30
ทุกข์-พ้นทุกข์
9
ความประมาท
20
ศีล
31
ชีวิต-ความตาย
10
ความไม่ประมาท
21
จิต
32
พิเศษสำหรับบุคคลทั่วไป
11
ตน-ฝึกตน
22
ปัญญา    

คลิกที่หัวข้อ "ว่าด้วยเรื่อง" ในหมวดนั้นๆ แล้วเลื่อนเมาส์ (สกรอลบาร์) ลงอ่านรายละเอียดด้านล่าง

พุทธสุภาษิต หมวดบุคคล มีทั้งหมด 219 บทดังนี้
    1.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ส่วนผู้ใด ถึงจะตกแต่งกาย สวมใส่อาภรณ์ แต่หากประพฤติชอบ เป็นผู้สงบ ฝึกอบรมตนแน่วแน่ เป็นผู้ประพฤติธรรมอันประเสริฐ เลิกละการเบียดเบียนปวงสัตว์ทั้งหมดแล้ว ผู้นั้นแล จะเรียกว่าเป็นพราหมณ์ เป็นสมณะ หรือ เป็นภิกษุ ก็ได้ทั้งสิ้น

    2.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
มิใช่การประพฤติตนเป็นชีเปลือย มิใช่การเกล้าผมทรงชฎา มิใช่การบำเพ็ญตบะ นอนในโคลนตม มิใช้การอดอาหาร มิใช่การนอนกับดิน มิใช่การเอาฝุ่นทาตัว มิใช่การตั้งท่านั่งดอก ที่จะทำคนให้บริสุทธิ์ได้ ในเมื่อความสงสัยยังไม่สิ้น

    3.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ผู้ใดใช้ทรัพย์จำนวนพันประกอบพิธีบูชาทุกเดือน สม่ำเสมอ ตลอดเวลาร้อยปี การบูชานั้นจะมีค่ามากมายอะไร การยกบูชาบุคคลที่อบรมตนแล้ว คนหนึ่งแม้เพียงครู่เดียวประเสริฐกว่า

    4.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
คนนั่งนิ่ง เขาก็นินทา คนพูดมาก เขาก็นินทา แม้แต่คนพูดพอประมาณ เขาก็นินทา คนไม่ถูกนินทา ไม่มีในโลก

    5.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
คฤหัสถ์ชาวบ้าน เกียจคร้าน ไม่ดี บรรพชิตไม่สำรวม ไม่ดี ผู้ครองแผ่นดินไม่ใคร่ครวญก่อนทำ ไม่ดี บัณฑิตมักโกรธ ไม่ดี

    6.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ผู้ครองเรือนขยัน ดีข้อหนึ่ง มีโภคทรัพย์แล้วแบ่งปัน ดีข้อสอง ถึงทีได้ผลสมหมาย ไม่มัวเมา ดีข้อสาม ถึงคราวสูญเสียประโยชน์ ไม่หมดกำลังใจ ดีครบสี่

    7.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ขุมกำลังของคนพาล คือการจ้องหาโทษของคนอื่น ขุมกำลังของบัณฑิต คือการไตร่ตรองโดยพินิจ

    8.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
เมื่อเกิดเหตุร้ายแรง ย่อมต้องการคนกล้าหาญ เมื่อเกิดข่าวตื่นเต้น ย่อมต้องการคนหนักแน่น เมื่อมีข้าวน้ำบริบูรณ์ ย่อมต้องการคนที่รัก เมื่อเกิดเรื่องราวลึกซึ้ง ย่อมต้องการบัณฑิต

    9.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ผู้ใดมีจิตคุ้มครองแล้ว ฟังคำสอนของพระชินเจ้า ผู้นั้นชื่อว่าให้อาสวะทั้งปวงสิ้นไป ทำให้แจ้งซึ่งอกุปปธรรม, บรรลุความสงบอย่างยิ่ง ไม่มีอาสวะ ย่อมดับสนิท

    10.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
คนผู้ตื่นขึ้นแล้ว ย่อมไม่เห็นอารมณ์ อันประจวบด้วยความฝันฉันใด คนผู้อยู่ ย่อมไม่เห็นชน อันตนรักทำกาละล่วงไปแล้วฉันนั้น

    11.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ผู้ปราศจากราคะ และกำจัดโทสะได้แล้วนั้น พึงเจริญเมตตาจิตไม่มีประมาณ ผู้นั้น งดอาชญาในสัตว์ทั้งปวงแล้ว ไม่ถูกติเตียน ย่อมเข้าถึงสถานอันประเสริฐ

    12.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ผู้ใด ระมัดระวังอินทรีย์เหล่านั้น รู้จักอินทรีย์ 6 ตั้งอยู่ในธรรม ยินดีในความซื่อตรง และ ความอ่อนโยน ล่วงกิเลสเครื่องข้องเสียได้ ละทุกข์ได้ทั้งหมด เที่ยวไป, ผู้นั้น เป็นธีรชน ย่อมไม่ติดในสิ่งที่เห็นแล้ว และ ได้ฟังแล้ว

    13.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ผู้ติดในส่งที่ยึดถือว่าของเรา ย่อมละความโศกเศร้า ความรำพัน และ ความตระหนี่ไม่ได้ เพราะฉะนั้น มุนีทั้งหลายผู้เห็นความปลอดภัย จึงละความยึดถือไปได้

    14.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ผู้ใดพิจารณาเห็นความยิ่งและหย่อนในโลกแล้ว ไม่มีความหวั่นไหวในอารมณ์ไหน ๆ ในโลก, เรากล่าวว่า ผู้นั้นเป็นผู้สงบ ไม่มีกิเลสดุจควันไฟ ไม่มีทุกข์ ปราศจากตัณหา ข้ามชาติชราได้

    15.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
บุคคลไม่ควรทำบาปซึ่งเป็นเครื่องกังวลในโลกทั้งปวง ด้วยกาย วาจา หรือด้วยใจ มีสติสัมปชัญญะ ละกามทั้งหลายได้แล้ว ไม่ควรเสพทุกข์อันประกอบด้วยสิ่งที่ไร้ประโยชน์

    16.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ผู้มีปัญญานั้น ย่อมเล็งเห็นกามคุณ เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นโรค, ผู้เห็นอย่างนี้ ย่อมละความพอใจในกาม อันเป็นทุกข์ เป็นภัยใหญ่ได้

    17.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
คนใดมีท้องพร่อง ย่อมทนความหิวได้ ผู้ฝึกตน มีความเพียร กินดื่มพอประมาณ ไม่ทำบาป เพราะอาหาร ท่านเรียกคนนั้นแล ว่าสมณะในโลก

    18.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
เมื่อใดบัณฑิตรู้ว่าชรา และ มรณะเป็นทุกข์ กำหนดรู้ทุกข์ ซึ่งเป็นที่อาศัยแห่งปุถุขน มีสติเพ่งพินิจอยู่ เมื่อนั้น ย่อมไม่ประสบความยินดีที่ยิ่งกว่านั้น

    19.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ผู้ใดปราศจากการติดในกามทั้งปวง ล่วงฌานอื่นได้แล้ว อาศัยอากิญจัญญายตนฌาน น้อมใจไปในสัญญาวิโมกข์อันประเสริฐ ผู้นั้นจะพึงอยู่ในอากิญจัญญานตนฌานนั้น ไม่มีเสื่อม

    20.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ผู้ไม่ละโมภ ไม่อำพราง ไม่กระหาย ไม่ลบหลู่ ขจัดโมหะ ดุจน้ำฝาดแล้ว ไม่มีความมุ่งหวัง ครอบงำโลกทั้งหมด ควรเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด

    21.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
เราคิดค้นหาทุกทิศแล้ว ก็ไม่พบผู้อื่นซึ่งเป็นที่รักยิ่งกว่าตนในที่ไหน ๆ , ถึงผู้อื่นก็มีตนเป็นที่รักมากอย่างนี้ เพราะฉะนั้นผู้รักตนจึงไม่ควรเบียดเบียนผู้อื่น

    22.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ผู้ฉลาดละเครื่องกั้นจิต 5 ประการ กำจัดอุปกิเลสทั้งหมด ตัดรักและชังแล้ว อันตัณหา และทิฏฐิอาศัยไม่ได้ พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น

    23.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
บัณฑิต ย่อมไม่ประพฤติกรรมชั่ว เพราะเหตุแห่งสุขเพื่อตน, สัตบุรุษอันทุกข์ถูกต้องแม้พลาดพลั้งไป ก็ไม่ยอมละธรรม เพราะฉันทาคติ และ โทสาคติ

    24.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
เพราะนักปราชญ์มีสติตั้งมั่นในธรรมวินัยนี้ ไม่เสพกามและบาป พึงละกามพร้อมทั้งทุกข์ได้ ท่านจึงกล่าวบุคคลนั้นว่า ผู้ไปทวนกระแส

    25.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
บัณฑิตละราคะ โทสะ และ โมหะ ทำลายสังโยชน์ได้แล้ว ย่อมไม่หวาดเสียวในการสิ้นชีวิต, พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น

    26.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
โจรผู้มีความชั่ว ถูกเขาจับได้ซึ่งหน้า ย่อมเดือนร้อนเพราะกรรมของตนฉันใด ประชาชนผู้มีความชั่ว ละไปแล้ว ย่อมเดือดร้อนเพราะกรรมของตนในโลกหน้าฉันนั้น

    27.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
คนบางจำพวกเหล่าใดไม่สำรวมในกาม ยังไม่ปราศจากราคะ เป็นผู้บริโภคกามในโลกนี้, คนเหล่านั้นถูกตัณหาครอบงำ ลอยไปตามกระแส (ตัณหา) ต้องเป็นผู้เข้าถึงชาติชราร่ำไป

    28.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ภิกษุไม่ควรหวั่นไหวเพราะนินทา ได้รับสรรเสริญ ก็ไม่ควรเหิมใจ พึงบรรเทาความโลภกับความตระหนี่ ความโกรธ และ ความส่อเสียดเสีย

    29.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ผู้ใดรู้ธรรมของอสัตบุรุษ และ ของสัตบุรุษ ทั้งภายใน ทั้งภายนอก มีเทวดา และ มนุษย์บูชาในโลกทั้งปวง ผู้นั้นจึงล่วงข่ายคือเครื่องข้องได้ และ เป็นมุนี

    30.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ผู้ใดละมานะ มีตนตั้งมั่นดีแล้ว มีใจดี หลุดพ้นในที่ทั้งปวง อยู่ในป่าคนเดียว เป็นผู้ไม่ประมาท, ผู้นั้นพึงข้ามฝั่งแห่งแดนมฤตยู

    31.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ อยู่อย่างนี้ ความกลัว ความครั้นคร้าม ขนพองสยองเกล้าจักไม่มี

    32.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ผู้ฉลาดหลักแหลม แสดงเหตุและไม่ใช้เหตุได้แจ่มแจ้ง และ คาดเห็นผลประจักษ์ ย่อมเปลี้องตน (จากทุกข์) ได้ฉับพลัน อย่ากลัวเลย เขาจักกลับมาได้

    33.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ผู้ติดใจในการบริโภคกาม ยินดีหมกมุ่นในกามทั้งหลาย ย่อมไม่รู้สึกซึ่งความถลำตัว เหมือนปลาถลันเข้าลอบที่เขาดักไว้ไม่รู้สึกตัว ฉะนั้น

    34.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
นรชนใดไม่เชื่อ (ตามเขาว่า) รู้จักพระนิพพาน อันอะไร ๆ ทำไม่ได้ ตัดเงื่อนต่อได้ มีโอกาสอันขจัดแล้ว และ คายความหวังแล้ว, ผู้นั้นแล เป็นบุรุษสูงสุด

    35.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ผู้ใดไม่มีความยึดถือว่าของเรา ในนามรูปโดยประการทั้งปวง และ ผู้ใดย่อมไม่เศร้าโศกเพราะนามรูปที่ไม่มีอยู่, ผู้นั้นแลท่านเรียกว่าภิกษุ

    36.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ผู้ดับกิเลสได้แล้วหมดความหวั่นไหวนั้นรู้ที่สุด ทั้ง 2 แล้ว ย่อมไม่ติดในท่ามกลางด้วยปัญญา, เราเรียกผู้นั้นว่าเป็นมหาบุรุษ ผู้นั้นละตัณหา เครื่องเย็บร้อยใจในโลกนี้ได้แล้ว

    37.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร จัณจาล และ คนงานชั้นต่ำทั้งปวง สงบเสงี่ยมแล้ว ฝึกตนแล้ว ก็ปรินิพพานเหมือนกันหมด

    38.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
บุคคลถึงความสำเร็จแล้ว (พระอรหันตผล) ไม่สะดุ้ง ปราศจากตัณหา ไม่มีกิเลศเครื่องยั่วยวน ตัดลูกศรอันจะนำไปสู่ภพได้แล้ว ร่างกายนี้จึงชื่อว่ามีในที่สุด

    39.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
การบำเพ็ญประโยชน์โดยไม่ฉลาดในประโยชน์ จะนำความสุขมาให้ไม่ได้เลย ผู้มีปัญญาทราม ย่อมพร่าประโยชน์ ดุจลิงเฝ้าสวนฉะนั้น

    40.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ผู้ใดทำ ราคะ โทสะ มานะ และ มักขะ ให้ตกไป เหมือนทำให้เมล็ดผักกาดตกจากปลายเหล็กแหลม, เราเรียกผู้นั้นว่าพราหมณ์

    41.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ผู้ประกอบตนในสิ่งที่ไม่ควรประกอบ และ ไม่ประกอบตนในสิ่งที่ควรประกอบ ละประโยชน์เสียถือตามชอบใจ ย่อมเป็นที่กระหยิ่มต่อผู้ประกอบตนเนือง ๆ 

    42.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ผู้มีปัญญาเหล่าใด ขวนขวายในฌาน ยินดีในความสงบ อันเกิดจากเนกขัมมะ เทวดาทั้งหลายก็พอใจ ต่อผู้มีปัญญา ผู้รู้ดีแล้ว และ ผู้มีสติเหล่านั้น

    43.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
บุคคล รู้แจ้งธรรมะที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว จากผู้ใด พึงนอบน้อมผู้นั้นโดยเคารพ เหมือนพราหมณ์นับถือการบูชาไฟ ฉะนั้น

    44.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
สิ่งเดียวกันนั่นแหละดีสำหรับคนหนึ่ง แต่เสียสำหรับอีกคนหนึ่ง เพราะฉะนั้นสิ่งใด ๆ มิใช่ว่าจะดีไปทั้งหมด และ ก็มิใช่จะเสียไปทั้งหมด

    45.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
คนจะชื่อว่าเป็นผู้ใหญ่ เพียงเพราะมีผมหงอกก็หาไม่ ถึงวัยของเขาจะหง่อม ก็เรียกว่าแก่เปล่า

    46.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
คนที่ถูกนินทาอย่างเดียว หรือ ได้รับการสรรเสริญอย่างเดียว ไม่เคยมีมา แล้วจักไม่มีต่อไป ถึงในขณะนี้ก็ไม่มี

    47.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ผู้ใด วิญญูชนพิจารณาดูอยู่ทุกวัน ๆ แล้วกล่าวสรรเสริญ ผู้นั้น ใครเล่าจะควรติเตียนเขาได้

    48.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
แผ่นดินนี้ ไม่อาจทำให้เรียบเสมอกันทั้งหมด ได้ฉันใด มนุษย์ทั้งหลายจะทำให้เหมือนกันหมดทุกคนก็ไม่ได้ฉันนั้น

    49.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
เหตุอย่างหนึ่ง ทำให้คนหนึ่งได้รับการสรรเสริญ เหตุอย่างเดียวกันนั้น ทำให้อีกคนหนึ่งได้รับการนินทา

    50.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
คนทรามปัญญาได้ยศแล้ว ย่อมประพฤติแต่การอันไม่เกิดคุณค่าแก่ตน ปฏิบัติแต่ในทางที่เบียดเบียน ทั้งตน และ คนอื่น

    51.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
พระอรหันต์ทั้งหลาย อยู่ในที่ใด คือบ้านก็ตาม ป่าก็ตาม ที่ลุ่มก็ตาม ที่ดอนก็ตาม ที่นั้นย่อมเป็นภูมิน่ารื่นรมย์

    52.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ผู้มีสติย่อมหลีกออก ท่านไม่ยินดีในที่อยู่ ท่านย่อมละที่อยู่ได้ ดุจหงส์ละเปือกตมไปฉะนั้น

    53.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
สมณะภายนอกไม่มี, สังขารเที่ยงไม่มี, ความหวั่นไหวของพระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่มี, เหมือนรอยเท้าในอากาศ

    54.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ผู้ไม่ระเริงในอารมณ์ที่ชอบใจ ไม่ประกอบในความดูหมิ่น เป็นผู้ละเอียดเฉียบแหลม ย่อมไม่เชื่อง่าย ไม่หน่ายแหนง

    55.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
กามทั้งหลายมีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก บัณฑิตรู้ดังนี้แล้ว ไม่ใยดีในกามแม้เป็นทิพย์

    56.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ผู้ใดมีความสัตย์ มีธรรม มีความไม่เบียดเบียน มีความสำรวม และมีความข่มใจ ผู้นั้นแลชื่อว่าผู้มีปัญญา หมดมลทิน เขาเรียกท่านว่า เถระ

    57.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
มารดาบิดา ท่านว่าเป็นพรหม เป็นบูรพาจารย์ เป็นที่นับถือของบุตร และเป็นผู้อนุเคราะห์บุตร

    58.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ผู้มีปัญญาเหล่าใด ประกอบด้วยศึล ยินดีในความสงบด้วยปัญญา ผู้มีปัญญาเหล่านั้น เว้นไกลจากความชั่วแล้ว ไม่ต้องเชื่อผู้อื่น

    59.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร ไปสู่แว้นแคว้น ตำบล หรือ เมืองหลวงใด ๆ ก็ตาม ย่อมมีผู้บูชาในที่ทั้งปวง

    60.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ความปรารถนาลามก ไม่ละอาย ไม่เอื้อเฟื้อ เพราะเหตุใด, เขาย่อมสร้างบาป เพราะเหตุนั้น เขาไปสู่อบายเพราะเหตุนั้น

    61.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ผู้ใดมีสติเฉพาะหน้า เจริญเมตตาไม่มีประมาณ, สังโยชน์ของผู้เห็นความสิ้นแห่งอุปธินั้นย่อมเบาบาง

    62.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ผู้ใดเห็นศีล ปัญญา และสุตะ ในตน, ผู้นั้นย่อมประพฤติประโยชน์ตน และ ผู้อื่นทั้ง 2 ฝ่าย

    63.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ผู้ถูกมานะหลอกลวง เศร้าหมองอยู่ในสังขาร ถูกลาภและความเสื่อมย่ำยี ย่อมไม่ลุถึงสมาธิ

    64.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
สัตบุรุษย่อมปรากฎได้ในที่ไกล เหมือนภูเขาหิมพานต์ อสัตบุรุษถึงนั่งอยู่ในที่นี้ก็ไม่ปรากฎ เหมือนกับลูกศรที่ยิงไปกลางคืน

    65.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ผู้มีปรีชาได้โภคะแล้ว ย่อมสงเคราะห์หมู่ญาติ, เพราะการสงเคราะห์นั้น เขาย่อมได้เกียรติ ละไปแล้ว ย่อมบันเทิงในสวรรค์

    66.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
บัณฑิตขัดขวางโจรผู้นำของไป, ส่วนสมณะนำไปย่อมเป็นที่รัก, บัณฑิตย่อมยินดีต้อนรับสมณะผู้มาบ่อย ๆ 

    67.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
คนเหล่าใด อันเทวทูตตักเตือนแล้วยังประมาทอยู่ คนเหล่านั้นเข้าถึงกายอันเลว ย่อมเศร้าโศกสิ้นกาลนาน

    68.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
บุคคลเป็นคนเลวเพราะชาติก็หาไม่ เป็นผู้ประเสริฐเพราะชาติก็หาไม่ แต่เป็นคนเลวเพราะการกระทำ เป็นผู้ประเสริฐเพราะการกระทำ

    69.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
เมื่อสัตบุรุษให้สิ่งที่ให้ยาก ทำกรรมที่ทำได้ยาก, อสัตบุรุษย่อมทำตามไม่ได้ เพราะธรรมของสัตบุรุษ ยากทีอสัตบุรุษจะประพฤติตาม

    70.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
บัณฑิตไม่ศึกษา เพราะอยากได้ลาภ, ไม่ขุ่นเครือง เพราะเสื่อมลาภ, ไม่ยินดียินร้ายเพราะตัณหา และ ไม่ติดในรสทั้งหลาย

    71.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ผู้เป็นคนขัดเคืองเหนียวแน่น ปรารถนาลามก ตระหนี่ โอ้อวด ไม่ละอาย และ ไม่เกรงกลัวบาป พึงรู้ว่าผู้นั้นเป็นคนเลว

    72.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ตราบเท่าที่บาปยังไม่ให้ผล คนเขลายังเข้าใจว่ามีรสหวาน แต่บาปให้ผลเมื่อใด คนเขลาย่อมประสบทุกข์เมื่อนั้น

    73.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ท่านทั้งหลายจงดำเนินตามทางที่สร่างความเมา บรรเทาความโศก เปลื้องสงสาร เป็นที่สิ้นทุกข์ทั้งปวง โดยความเคารพ

    74.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
บัณฑิตกล่าวถึงผู้มีกายสะอาด มีวาจาสะอาด มีใจสะอาด ไม่มีอาสวะ ถึงพร้อมด้วยความสะอาดล้างบาปแล้ว ท่านว่าเป็นผู้สะอาด

    75.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
คนเหล่าใดเขลา มีปัญญาทราม มีความคิดเลว ถูกความหลงปกคลุม, คนเช่นนั้น ย่อมติดเครื่องผูกอันมารทอดไว้นั้น

    76.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ผู้ใดไม่มีความอาลัย รู้แล้ว หาความสงสัยมิได้ เราเรียกผู้หยั่งลงสู่อมตะบรรลุประโยชน์แล้วนั้น ว่าเป็นพราหมณ์

    77.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
คนเขลาคิดว่าเรามีบุตร เรามีทรัพย์ เขาจึงเดือนร้อน ที่แท้ตนของตนก็ไม่มี จะมีบุตร มีทรัพย์มาแต่ไหนเล่า

    78.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ผู้ตั้งใจประพฤติตนเป็นคนโสด เขารู้กันว่าเป็นบัณฑิต, ส่วนคนโง่ฝักใฝ่ในเมถุน ย่อมเศร้าหมอง

    79.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
บุรุษจะเป็นบัณฑิตในที่ทั้งปวงก็หาไม่, แม้สตรีก็เป็นบัณฑิต มีปัญญาเฉียบแหลมในที่นั้น ๆ ได้เหมือนกัน

    80.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
บุคคลไม่ควรนิยมการกล่าวคำเท็จ ไม่ควรทำความเสน่หาในรูปโฉม ควรกำหนดรู้มานะ และ ประพฤติงดเว้นจากความผลุนผลัน

    81.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
บัณฑิตทั้งหลายกล่าวถึงผู้นิ่งทางกาย นิ่งทางวาจา นิ่งทางใจ ไม่มีอาสวะ ถึงพร้อมด้วยปัญญา ผู้ละสิ่งทั้งปวงได้ ว่าเป็นมุนี

    82.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ผู้ใดมักโกรธ ผูกโกรธไว้ ลบหลู่เขาด้วยความชั่ว มีความเห็นวิบัติ มีมายา พึงรู้ว่าคนนั้นเป็นคนเลว

    83.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
นรชนผู้กำหนัดในกาม ยินดีในกาม หมกมุ่นในกาม ทำบาปทั้งหลาย ย่อมเข้าถึงทุคคติ

    84.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ราคะ โทสะ และอวิชชา อันผู้ใดหลุดพ้นแล้ว, ผู้นั้นเป็นผู้คงที่ มีสายล่ามขาดแล้ว ไม่มีเครื่องผูก ย่อมไม่ติดในที่นั้น

    85.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
คนไม่มีโชค มีศิลป์หรือไม่มีศิลป์ก็ตาม ขวนขวายรวบรวมทรัพย์ใดไว้ได้เป็นอันมาก ส่วนคนมีโชค ย่อมบริโภคทรัพย์เหล่านั้น

    86.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ผู้ไม่สันโดษด้วยภริยาของตน ย่อมซุกซนในหญิงแพศยา และประทุษร้ายภริยาของคนอื่น นั่นเป็นเหตุแห่งความเสื่อม

    87.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ความโกรธเกิดขึ้นแก่คนโง่เขลาไม่รู้แจ้ง เพราะความแข่งดี เขาย่อมถูกความโกรธนั้นแลเผา

    88.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ผู้ที่มารดาบิดาเลี้ยงมาโดยยากอย่างนี้ ไม่บำรุงมารดาบิดา ประพฤติผิดในมารดาบิดาย่อมเข้าถึงนรก

    89.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ถ้าเป็นผู้มีอินทรีย์สมบูรณ์ สงบและยินดีในทางสงบแล้ว จึงชื่อว่าชนะมาร พร้อมทั้งพาหนะ ทรงไว้ซึ่งกายอันมีในที่สุด

    90.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ผู้ใดตัดความข้องทั้งปวงแล้ว บรรเทาความกระวนกระวายใจได้, ผู้นั้นถึงความสงบใจ เป็นผู้สงบระงับ ย่อมอยู่เป็นสุข

    91.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
มุนีเหล่าใด เป็นผู้ไม่เบียดเบียน สำรวมทางกายเป็นนิตย์ มุนีเหล่านั้น ย่อมไปสู่สถานไม่จุติ ที่ไปแล้วไม่ต้องเศร้าโศก

    92.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ผู้ไม่โกรธ ฝึกตนแล้ว เป็นอยู่อย่างสม่ำเสมอ หลุดพ้นเพราะรู้ชอบ สงบระงับ และ คงที่ จะมีความโกรธมาแต่ไหน

    93.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ผู้ใดไม่ฆ่าเอง ไม่ให้ผู้อื่นฆ่า ไม่ชนะเอง ไม่ให้ผู้อื่นชนะ ผู้นั้นชื่อว่ามีเมตตาต่อสัตว์ทั้งปวง และ ไม่มีเวรกับใคร ๆ

    94.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ผู้ใดยกย่องตน และดูหมิ่นผู้อื่น เป็นคนเลว เพราะการถือตัวเอง พึงรู้ว่าผู้นั้นเป็นคนเลว

    95.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ใคร่ครวญติ คนฉลาดจะประพฤติไม่ขาด ตั้งมั่นด้วยปัญญาและศีล ประดุจแท่งทองชมพูนุท

    96.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ผู้ใดไม่โกรธ ไม่ผูกโกรธ ไม่ลบหลู่ ถึงความหมดจด มีทิฏฐิสมบูรณ์ มีปัญญา พึงรู้ว่าผู้นั้นเป็นอริยะ

    97.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ผู้ใดเลี้ยงมารดาบิดาโดยธรรม บัณฑิตย่อมสรรเสริญผู้นั้นในโลกนี้ เขาละไปแล้ว ย่อมบันเทิงในสวรรค์

    98.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ผู้บรรลุธรรมอย่างสูงสุดไม่มีความต้องการในโลกทั้งปวง ย่อมไม่เศร้าโศกในความตาย เหมือนผู้ออกพ้นจากเรือนที่ถูกไฟใหม้

    99.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ผู้ใดช้าในการที่ควรช้า และ รีบในการที่ควรรีบ ผู้นั้นเป็นผู้ฉลาด ย่อมถึงสุข เพราะการจัดทำโดยแยบคาย

    100.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ผู้ใดทำกรรมชั่วแล้ว ละเสียได้ ด้วยกรรมดี ผู้นั้นย่อมยังโลกนี้ให้สว่าง เหมือนพระจันทร์พ้นจากเมฆหมอกฉะนั้น

    101.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ผู้ใดรีบในกาลที่ควรช้า และ ช้าในกาลที่ควรรีบ ผู้นั้นเป็นคนเขลา ย่อมถึงทุกข์ เพราะการจัดทำโดยไม่แยบคาย

    102.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ผู้ใดจักไม่ทำตามโอวาทที่ผู้รู้ได้บอกแล้ว ผู้นั้นจักถึงความย่อยยับ เหมือนพ่อค้า ถึงความย่อยยับเพราะพวกโจรสลัดฉะนั้น

    103.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ชนเหล่าใดฉลาดในขนบธรรมเนียมโบราณ และประกอบด้วยจารีตประเพณีดี ชนเหล่านั้นย่อมไม่ไปสู่ทุคคติ

    104.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ผู้ใดเป็นผู้เยือกเย็น ไม่มีอุปธิ ไม่ติดในกาม ผู้นั้นเป็นพราหมณ์ เป็นผู้ดับแล้ว อยู่เป็นสุขทุกเมื่อ

    105.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ถ้าท่านกลัวทุกข์ ถ้าท่านไม่รักทุกข์ ก็อย่าทำบาปกรรมทั้งในที่แจ้ง ทั้งในที่ลับ

    106.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ไม่พึงดูหมิ่นลาภของตน ไม่ควรเที่ยวปรารถนาลาภของผู้อื่น ภิกษุปรารถนาลาภของผู้อื่น ย่อมไม่บรรลุสมาธิ

    107.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
บุรุษจะเป็นบัณฑิตในทุกสถานก็หาไม่ สตรีคิดการได้ฉับไวก็เป็นบัณฑิต

    108.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
บัณฑิตผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อมรุ่งเรืองเหมือนไฟที่ส่องทางสว่าง

    109.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
บัณฑิตย่อมเว้นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ถือเอาแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์

    110.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
คนโง่รู้สึกว่าตนโง่ จะเป็นผู้ฉลาดเพราะเหตุนั้นได้บ้าง

    111.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
พระมหากษัตริย์เป็นผู้ประเสริฐสุด

    112.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
พระราชาจงรักษาประชาราษฎร์

    113.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
บรรดาบุตรทั้งหลาย บุตรผู้เชื่อฟังเป็นผู้ประเสริฐ

    114.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
คนมีปัญญา ย่อมแนะนำในทางที่ควรแนะนำ

    115.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ในหมู่มนุษย์ ผู้ฝึกตนแล้วเป็นผู้ประเสริฐสุด

    116.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
สัตบุรุษ ย่อมขจรไปทั่วทุกทิศ

    117.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
สัตบุรุษย่อมปรากฏในที่ไกล เหมือนภูเขาหิมพานต์

    118.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
สัตบุรุษ ยินดีในการเกื้อกูลสัตว์

    119.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ผู้กินคนเดียว ไม่ได้ความสุข

    120.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
สาธุชนย่อมหลุดพ้นเพราะไม่ยึดมั่นถือมั่น

    121.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
มารดาบิดาเป็นที่นับถือของบุตร

    122.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ผู้มีความดีจงรักษาความดีของตนไว้

    123.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
คนมีปัญญาทราม ย่อมประกอบการอันไม่ใช่ธุระ

    124.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
อสัตบุรุษย่อมไปนรก

    125.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ผู้ปราศจากทมะ และ สัจจะ ไม่ควรครองผ้ากาสาวะ

    126.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
สัตบุรุษได้ตั้งมั่นในความสัตย์ที่เป็นอรรถและเป็นธรรม

    127.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ปราชญ์ได้โภคทรัพย์แล้ว ย่อมสงเคราะห์ญาติ

    128.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
มารดาบิดาท่านว่าเป็นบูรพาจารย์ (ของบุตร)

    129.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ภริยาผู้ฉลาด ย่อมนับถือสามี และ คนที่ควรเคารพทั้งปวง

    130.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ท่านผู้เป็นที่พึ่ง ย่อมประกอบด้วยกรุณายิ่งใหญ่

    131.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
กลิ่นของสัตบุรุษย่อมหวนทวนลมได้

    132.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
คนแข็งกระด้างก็มีเวร

    133.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ถ้าพระราชาเป็นผู้ทรงธรรม ราษฎรทั้งปวงก็เป็นสุข

    134.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
คนมีปัญญาทราม ย่อมทำความประทุษร้าย

    135.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ชื่อว่าบัณฑิตย่อมทำประโยชน์ให้สำเร็จได้แล

    136.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ผู้มุ่งประโยชน์โดยไร้อุบาย ย่อมลำบากที่จะได้ประโยชน์นั้น

    137.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
พึงประพฤติให้พอเหมาะพอดี

    138.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
คนฉลาด ย่อมละบาป

    139.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
คนโง่ มีกำลังบริหารหมู่ย่อมไม่สำเร็จประโยชน์

    140.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
บรรพชิตฆ่าผู้อื่น เบียดเบียนผู้อื่น ไม่เป็นสมณะเลย

    141.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
คนมีปัญญา ย่อมไม่ประกอบในทางอันไม่ใช่ธุระ

    142.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ผู้ถูกขอเมื่อไม่ให้สิ่งที่เขาขอ ย่อมไม่เป็นที่รักของผู้ขอ

    143.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
สัตบุรุษไม่ปราศรัยเพราะใคร่กาม

    144.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
มารดา บิดา ท่านว่าเป็นพรหมของบุตร

    145.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ผู้สงบระงับ ย่อมอยู่เป็นสุข

    146.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
สัตบุรุษยินดีในการเกื้อกูลสัตว์

    147.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ความสงัดของผู้สันโดษมีธรรมปรากฎ เห็นอยู่ นำสุขมาให้

    148.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
พูดอย่างใด พึงทำอย่างนั้น

    149.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
คนมีปัญญาทราม ย่อมแนะนำในทางที่ไม่ควรแนะนำ

    150.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ความสันโดษด้วยปัจจัยตามมีตามได้ นำสุขมาให้

    151.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ปราชญ์ มีกำลังบริหารหมู่ให้ประโยชน์สำเร็จได้

    152.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
บรรดาภริยาทั้งหลาย ภริยาผู้เชื่อฟังเป็นผู้ประเสริฐ

    153.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
สัตบุรุษมีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า

    154.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
พึงตามรักษาความสัตย์

    155.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ผู้ประกอบด้วยทมะ และ สัจจะนั้นแล ควรครองผ้ากาสาวะ

    156.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ฤษีทั้งหลาย มีสุภาษิตเป็นธงชัย

    157.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
อสัตบุรุษ แม้นั่งอยู่ในที่นี้เองก็ไม่ปรากฎ เหมือนลูกศรที่ยิงไปกลางคืน

    158.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ผู้ใดไม่พูดเป็นธรรม ผู้นั้นไม่ใช่สัตบุรุษ

    159.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
พระราชา เป็นประมุขของประชาชน

    160.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
คนโง่ ไม่ควรเป็นผู้นำ

    161.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
สติจำเป็นในที่ทั้งปวง

    162.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
สติ เป็นธรรมเครื่องตื่นอยู่ในโลก

    163.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ผู้บูชา ย่อมได้รับการบูชา

    164.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
อสัตบุรุษ ย่อมไปนรก

    165.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
สมณะ พึงเป็นสมณะที่ดี

    166.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ได้สิ่งใด พึงพอใจในสิ่งนั้น

    167.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ผู้รักษา ควรมีสติรักษา

    168.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
สตรี เป็นสูงสุดแห่งสิ่งของทั้งหลาย

    169.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
มีญาติมาก ๆ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ

    170.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
คนอ่อนแอ ก็ถูกเขาดูหมิ่น

    171.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
คนมีสติ เป็นผู้ประเสริฐทุกวัน

    172.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ไม่ควรดูหมิ่นลาภของตน

    173.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ผู้ทำสักการะ ย่อมได้รับการสักการะ

    174.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ผู้ไหว้ ย่อมได้รับการไหว้ตอบ

    175.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
สามีเป็นเครื่องปรากฎของสตรี

    176.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
คนมีสติ ย่อมได้รับความสุข

    177.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ผู้มีปัญญาย่อมไม่ขอเลย

    178.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
คนซื่อตรง ไม่พูดคลาดความจริง

    179.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
คนผู้มีสติ มีความเจริญทุกเมื่อ

    180.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ความสันโดษเป็นทรัพย์อย่างยิ่ง

    181.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ไม่ควรขอสิ่งที่รู้ว่าเป็นที่รักของเขา

    182.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
คนมีปัญญาทราม ย่อมพร่าประโยชน์เสีย

    183.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
สมณะ พึงตั้งอยู่ในภาวะแห่งสมณะ

    184.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
บัณฑิตมีความไม่เพ่งโทษผู้อื่นเป็นกำลัง

    185.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
บุตรเป็นที่ตั้งของมนุษย์ทั้งหลาย

    186.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ผู้ขอย่อมไม่เป็นที่รักของผู้ถูกขอ

    187.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
บัณฑิตย่อมไม่แสดงอาการขึ้นลง

    188.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
สมณะในศาสนานี้ ไม่เป็นข้าศึกในโลก

    189.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
พระมหากษัตริย์ทรงเครื่องรบ ย่อมสง่า

    190.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
บัณฑิตย่อมรักษาอินทรีย์

    191.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
คนได้เกียรติ เพราะความสัตย์

    192.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
อ่อนไป ก็ถูกเขาหมิ่น แข็งไป ก็มีภัยเวร

    193.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
คนจะประเสริฐ ก็เพราะการกระทำ และ ความประพฤติ

    194.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
มีบางคนในโลกที่ยับยั้งการกระทำด้วยความละอาย

    195.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ผู้ฟังมาก ต้องพิจารณาเป็นสำคัญ

    196.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
สัตบุรุษ ไม่ปราศรัยเพราะความได้กาม

    197.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
กวีเป็นที่อาศัยแห่งคาถาทั้งหลาย

    198.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
สัตบุรุษ ไม่มีในชุมนุมใด ชุมนุมนั้นไม่ชื่อว่าสภา

    199.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
พระราชา เป็นเครื่องปรากฏของแว่นแคว้น

    200.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
บรรพชิตผู้ไม่สำรวม ไม่ดี

    201.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
คำสัตย์แล เป็นวาจาไม่ตาย

    202.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ความคุ้นเคย เป็นญาติอย่างยิ่ง

    203.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
บุรุษอาชาไนย หาได้ยาก

    204.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
วิญญูชนตำหนิ ดีกว่าคนพาลสรรเสริญ

    205.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
พึงป้องกันภัยที่ยังมาไม่ถึง

    206.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
คนเมื่อรักแล้ว มักพูดมาก

    207.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
คนเมื่อโกรธแล้ว มักพูดมาก

    208.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ผู้ถึงพร้อมด้วยองคคุณ หาได้ยาก

    209.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
คนย่อมเป็นที่เกลียดชัง เพราะขอมาก

    210.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ความสัตย์นั่นแล ดีกว่ารสทั้งหลาย

    211.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ควรทำแต่ความเจริญ อย่าเบียดเบียนผู้อื่น

    212.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ผู้เคารพผู้อื่น ย่อมมีความเคารพตนเอง

    213.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
สตรีเป็นมลทินของพรหมจรรย์

    214.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ผู้ชอบธรรม เป็นผู้เจริญ

    215.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ผู้เกลียดธรรม เป็นผู้เสื่อม

    216.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
พวกโจร เป็นเสนียดของโลก

    217.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ผู้มีความรู้ในทางที่ดี เป็นผู้เจริญ

    218.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
ผู้มีความรู้ในทางที่ชั่ว เป็นผู้เสื่อม

    219.
fjrigjwwe9r0dhama_zone_supasit_bygroup:budvaja
คนไม่ถูกนินทา ไม่มีในโลก


 

ค้นพบหัวข้อธรรมทั้งหมด 183/183 หัวข้อธรรม
แสดงหัวข้อธรรมหน้าละ 20 หัวข้อธรรม ขณะนี้คุณอยู่หน้าที่ 1/10
|<หน้าแรก    <ก่อนหน้านี้    หน้าต่อไป>    หน้าสุดท้าย>|
หน้า 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10

หมวด : คำนำ
หัวข้อที่ : 1 บทนำ

คำกลอน

หัวข้อธรรมประเภทนี้มีไว้สำหรับใช้เพ่ง
เพื่อให้เห็นข้อเท็จจริงแห่งข้อความนั้น
แล้วเพ่งต่อไปเพื่อให้เกิดความรู้สึกเช่นนั้นขึ้นมาจริง ๆ
จนจิตใจเปลี่ยนไปตามข้อเท็จจริงนั้น
ในการที่จะทำให้เกิดความสลดสังเวชความไม่ประมาท
การเปลี่ยนนิสัยที่ไม่พึงปรารถนา
กวาดล้างความรู้สึกที่ทำความรำคาญต่าง ๆ ให้แก่ตน
ให้หมดไปจากจิตใจ
เพื่อให้เกิดความสะอาด ความสว่าง และความสงบ
โดยสมควรแก่การกระทำของตน ๆ

ความรู้ ความเข้าใจ ที่เกิดจากการเพ่งทำนองนี้จะถูกต้อง
และมีประโยชน์กว่าที่เกิดจากการอ่านตะพึด
และยังเป็นการปฏิบัติธรรมฐานภาวนาชนิดหนึ่งอยู่ในตัว

ทั้งสมาธิ และ ปัญญาในระดับที่คนทั่วไปจะพึงทำได้
และพร้อมกันนั้นก็เป็นศีลอยู่แล้ว
ในขณะที่มีการสังวรระวัง บังคับตัวเองให้ทำเช่นนั้น
ไม่มีโอกาสแก่การทุศีลแต่ประการใด
หมวด : บทนำ
หัวข้อที่ : 2 บทนำ

คำกลอน

คำประพันธ์ บทพระธรรม ไม่จำเพาะ
ว่าจะต้อง, ไพเราะ เพราะอักษร
หรือ สัมผัส ช้อยชด แห่งบทกลอน
ที่อรชร ฯ เชิงกวี ตามนิยมฯ

ขอแต่เพียง ให้อรรถ แห่งธรรมะ
ได้แจ่มจะ ถนัดเห็น เป็นปฐม
แล้วได้รส แห่งพระธรรม ด่ำอารมณ์
ที่อาจบ่ม เบิกใจ ให้เจริญ ฯ

ให้นิสัย เปลี่ยนใหม่ จากก่อนเก่า
ไม่ซึมเศร้า สุขสง่า น่าสรรเสริญ
เป็นจิตกล้า สามารถ ไม่ขาดเกิน
ขอชวนเชิญ ชมธรรมรส งดกวี ฯ
หมวด : การงาน
หัวข้อที่ : 3 การงานคือการปฏิบัติธรรม

คำกลอน

หัวข้อธรรมประเภทนี้มีไว้สำหรับใช้เพ่ง
เพื่อให้เห็นข้อเท็จจริงแห่งข้อความนั้น
แล้วเพ่งต่อไปเพื่อให้เกิดความรู้สึกเช่นนั้นขึ้นมาจริง ๆ
จนจิตใจเปลี่ยนไปตามข้อเท็จจริงนั้น
ในการที่จะทำให้เกิดความสลดสังเวชความไม่ประมาท
การเปลี่ยนนิสัยที่ไม่พึงปรารถนา
กวาดล้างความรู้สึกที่ทำความรำคาญต่าง ๆ ให้แก่ตน
ให้หมดไปจากจิตใจ
เพื่อให้เกิดความสะอาด ความสว่าง และความสงบ
โดยสมควรแก่การกระทำของตน ๆ

ความรู้ ความเข้าใจ ที่เกิดจากการเพ่งทำนองนี้จะถูกต้อง
และมีประโยชน์กว่าที่เกิดจากการอ่านตะพึด
และยังเป็นการปฏิบัติธรรมฐานภาวนาชนิดหนึ่งอยู่ในตัว

ทั้งสมาธิ และ ปัญญาในระดับที่คนทั่วไปจะพึงทำได้
และพร้อมกันนั้นก็เป็นศีลอยู่แล้ว
ในขณะที่มีการสังวรระวัง บังคับตัวเองให้ทำเช่นนั้น
ไม่มีโอกาสแก่การทุศีลแต่ประการใด
หมวด : การงาน
หัวข้อที่ : 4 การงานเป็นสิ่งที่น่ารัก

คำกลอน

อันที่จริง การงาน นั้นน่ารัก
เมื่อยังไม่ รู้จัก ก็อางขนาง (คือไม่ชอบ)
ไม่รู้จัก ก็ปล่อยปละ แล้วละวาง
บ้างร้องคราง เมื่อรอหน้า ว่าเบื่อจริง

แต่ที่แท้ การงาน นั้นน่ารัก
สอนให้คน รู้จัก ไปทุกสิ่ง
ถ้ายิ่งทำ ยิ่งฉลาด ไม่พลาดยิง
ได้ตรงดิ่ง สิ่งอุกฤษฏ์ คือจิตเจริญ

การงานนี้ ดูให้ดี มันน่ารัก
เป็นการชัก ธรรมะมา น่าสรรเสริญ
คือมีสติ ฉันทะ ทมะเกิน
ครั้นหยุดเพลิน จิตก็วาง ทางนิพพาน
หมวด : การงาน
หัวข้อที่ : 5 การงานทำให้ชีวิตสดใส

คำกลอน

อันการงาน นั้นประเสริฐ ตรงที่สนุก
ยิ่งทำงาน ยิ่งเป็นสุข ทุกสถาน
ทำชีวิต ให้สดใจ ใจเบิกบาน
ในการงาน ประจำวัน นั่นเองนา

เมื่ออย่างนี้ มีแต่คน วิวลจิต
เย็นสนิท ดวงใจ ไร้โทสา
เกิดสังคม ที่อุดม ด้วยเมตตา
อยากเรียกว่า ธัมมิกะ สังคมนิยม

ผลของงาน ล้นเหลือ เผื่อแผ่ทั่ว
สัตว์ทุกตัว ใหญ่น้อย พลอยสุขสม
ทั้งเมืองเล็ก เมืองใหญ่ ได้ชื่นชม
โลกระดม สุขวาง ทางนิพพาน
หมวด : การงาน
หัวข้อที่ : 6 การงาน

คำกลอน

อันการงาน คือค่า ของมนุษย์
ของมีเกียรติ สูงสุด อย่าสงสัย
ถ้าสนุก ด้วยการงาน เบิกบานใจ
ไม่เท่าไร รู้ธรรม ฉ้ำซึ้งจริง

ตัวการงาน คือตัวการ ประพฤติธรรม
พร้อมกันไป หลายส่ำ มีค่ายิ่ง
ถ้าจะเปรียบ ก็เหมือนคน ฉลาดยิง
นัดเดียววิ่ง เก็บนก หลายพกเอยฯ
หมวด : การงาน
หัวข้อที่ : 7 กิเลสคุย

คำกลอน

คุยเสียดี ที่แก้ แพ้กิเลส
น่าสมเพช เตือนเท่าไหร่ ก็ไม่เห็น
ว่าเป็นทาส กิเลส อยู่เช้าเย็น
จะอวดเป็น ปราชญ์ไป ทำไมนา

ค้นธรรมะ หาทางออก อุ้มกิเลส
น่าสมเพช จริง ๆ เที่ยววิ่งหา
ตำรานี่ ตำรานั่น สรรหามา
ได้เป็นข้า กิเลสไป สมใจเอย ฯ
หมวด : การงาน
หัวข้อที่ : 8 จริงซี่!

คำกลอน

จริงซี ! เราบ้าบอก ธรรมกัน
เพาะเหตุ ที่ธรรมนำ โลกแล้
ห่างทุกข์ สบศุขทัน ใจอยาก
เป็นศุข ที่เที่ยงแท้ จุ่งเห็น ฯ

ธรรม, ธรรม, ธรรม ,เท่านั้น ที่สมาน
โลกนี้ โลกหน้า เย็นยิ่งน้ำ
ใครคบ เสพธรรมฐาน คู่ชีพ
ตนสุข , เมีย , ลูก , ซ้ำ สุขตาม ฯ
หมวด : การงาน
หัวข้อที่ : 9 บ้าดี

คำกลอน

ยิ่งทำดี จะยิ่งมี นรกมาก
ถ้าใจอยาก ดีเด่น เป็นเจ้าขรัว
ให้ผู้คนทั้งผอง ต้องยอมกลัว
คือยอมตัว อยู่ใต้ ปัญญายง;

ไม่ต้องการ มรรผล ดลนิพพาน
คงต้องการ แต่ให้ เขาช่วยส่ง
ให้ลอยลม ล่วงไป จมไม่ลง
ต้องประสงค์ แต่เท่านี้ : “บ้าดี” เอยฯ
หมวด : การงาน
หัวข้อที่ : 10 ช่างหัวมัน

คำกลอน

จงยืนกราน สลัดทั่ว ช่างหัวมัน
ถ้าเรื่องนั้น นั้นเป็นเหตุ แห่งทุกข์หนา
อย่าสำออย ตะบอยจัด ไว้อัตรา
ตัวกูกล้า ขึ้นเรือย ๆ อัดใจตาย

เรื่องนั้นนิด เรื่องนี้หน่อย ลอยมาเอง
ไปบวกเบ่ง ให้เห็นว่า จะฉิบหาย
เรื่องเล็กน้อย ตะบอยเห็น เป็นมากมาย
แต่ละราย รีบเขวี้ยงขว้าง ช่างหัวมัน

เมื่อตัวก็ ลู่หลุบ ลงเท่าไร
จะเย็นเยือก ลงไป ได้เท่านั้น
รอดตัวได้ เพราะรู้ใช้ “ช่างหัวมัน”
จงพากัน หัดใช้ ไว้ทุกคน ฯ
หมวด : การงาน
หัวข้อที่ : 11 อย่าช่างหัวมัน

คำกลอน

อย่าบิ่นบ้า มัวแต่อ้าง ช่างหัวมัน
ถ้าเรื่องนั้น เกี่ยวกับเพื่อน มนุษย์หนา
ต้องเอื้อเฟื้อ ปฏิบัติ เต็มอัตรา
โดยถือว่า เป็นเพื่อน เกิด - แก่เจ็บตาย

การช่วยเหลือ เหมือนช่วย ตัวเราเอง
เมื่อจิตเพ่ง- เล็งช่วย ทวยสหาย
ย่อมลดความ เห็นแก่ตัว ลงมากมาย
ทุกทุกราย อย่าเขวี้ยวขว้าง ช่างหัวมัน

เห็นแก่ตัว บางเบา ลงเท่าไร
ยิ่งเข้าใกล้ พระนิพพาน เห็นปานนั้น
รอดตัวได้ เพราะไม่มัว ช่างหัวมัน
จงพากัน ใคร่ครวญ ถ้วนทุกคน ฯ
หมวด : การงาน
หัวข้อที่ : 12 ปิด –ปิด –ปิด

คำกลอน

ปิด-ปิดตา: อย่าสอดส่าย ให้เกิดเหตุ
บางประเภท แกล้งทำบอด ยอดกุศล
มัวสอดรู้ สอดเห็น จะเป็นคน
เอาไฟลน ตนไป จนใหม้พอง ;

ปิด-ปิดหู: อย่าให้แส่ ไปฟังเรื่อง
ที่เป็นเครื่อง กวนใจ ให้หม่นหมอง
หรือเร้าใจ ให้ฟุ้งซ่าน พาลลำพอง
ผิดทำนอง คนฉลาด อนาถใจ ;

ปิด-ปิดปาก: อย่าพูดมาก เกินจำเป็น
จะเป็นคน ปากเหม็น เขาคลื่นใส้
ต้องเกิดเรื่อง เยิ่นเย้อ เสมอไป
ถ้าหุบปาก มากไว้ ได้แท่งทองฯ
หมวด : การงาน
หัวข้อที่ : 13 เปิด –เปิด –เปิด

คำกลอน

เปิด-ปิดตา: ให้รับแสง แห่งพระธรรม
ยิ่งมืดค่ำ ยิ่งเห็นชัด ถนัดถนี่
สมาธิมาก ยิ่งเห็นชัด ถนัดดี
นี่วิธี เปิดตาใจ ใช้กันมาฯ

เปิด-ปิดหู: ให้ยินเสียง สำเนียงธรรม
ทั้งเช้าค่ำ มีก้องไป ในโลกหล้า
ล้านล้านปี ฟังให้ชัด เต็มอัตรา
คือเสียงแห่ง สุญญตา ค่าสุดใจฯ

เปิด-ปิดปาก: สนทนา พูดจาธรรม
วันยังค่ำ อย่าพูด เรื่องเหลวไหล
พูดแต่เรื่อง ดังทุกข์ได้ โดยสัจจนัย
ไม่เท่าไร เราทั้งโลก พ้นโศกแลฯ
หมวด : การงาน
หัวข้อที่ : 14 นั่งริมธาร

คำกลอน

นั่งริมธาร ครุ่นวิจาร การเกิดดับ
เปลี่ยนปุบปับ สายธาร ทะยานไหล
เกิดไอเย็น ฟ่องฟุ้ง จรุงใจ
ดับร้อนได้ โดยไม่ต้อง ลองอาบกิน

อิกทางหนึ่ง ตลึงแล แน่ใจนัก
ถ้าใครผลัก ตกลง คงแดดิ้น
กระทบก้อน หินผา ใต้วาริน
แล้วจะสิ้น ชีพไป ในวังวน

มานึกดูเปรียบดั่ง สังสารวัฏฏ์
ดูผาดๆ น่ากระหวัด ในลาภผล
ที่ซ่อนอยู่ ในทุกข์ ปลุกใจคน
ให้ยอมทน ทุกข์ยาก บากบั่นไป

จนได้เกิด แต่ตาย ในวัฏฏะ
ไม่มีสะ ใจสร่าง อย่างไหน ๆ
ใครมองเห็น จงระวัง ยั้งจิตใจ
อย่าให้ไพล่ พลัดตก นรกวน
หมวด : การงาน
หัวข้อที่ : 15 ยาระงับสรรพทุกข์

คำกลอน

ต้น “ไม่รู้-ไม่ชี้” นี่เอาเปลือก
ต้น “ชั่งหัวมัน” นั้นเลือก เอาแก่นแข็ง
“อย่างนั้นเอง” เอาแต่ราก ฤทธิ์มันแรง
“ไม่มีกู-ของกู” แสวง เอาแต่ใบ

“ไม่น่าเอา-น่าเป็น” เฟ้นเอาดอก
“ตายก่อนตาย” เลือกเอา ลูกใหญ่ ๆ
หกอย่างนี้ อย่างละชั่ง ตั้งเกณฑ์ไว้
“ดับไม่เหลือ” สิ้งสุดท้าย ใช้เมล็ดมัน

หนักหกชั่ง เท่ากับ ยาทั้งหลาย
เคล้ากันไป เสกคาถา ที่อาถรรพ์
“สัพเพ ธัมมา นาลัง อภินิเวสาย” อัน
เป็นธรรมนั้น หฤทัย ในพุทธนาม

จัดลงหม้อ ใส่น้ำ พอท่วมยา
เคี่ยวไฟกล้า เหลือได้ หนึ่งในสาม
หนึ่งช้อนชา สามเวลา พยายาม
กินเพื่อความ หมดสรรพโรค เป็นโลกอุด
หมวด : การงาน
หัวข้อที่ : 16 นั่งเหนือเมฆ

คำกลอน

รู้สึกว่า น่าดู อยู่เหนือเมฆ
แสนวิเวก สุขใจ ดั่งในฝัน
เมื่อเมฆนอก เมฆใน ไม่พัวพัน
เป็นสุขครัน สิ่งใด ไม่มีปาน

นั่งเหนือเมฆ แล้วบางคน ยังก่นเศร้า
อะไรเล่า ติดมา ลองว่าขาน
หรือเงินทอง ติดตัง ทั้งการงาน
ก็ตามมา รังควาญ เป็นถ่านไฟ

เห็นไหมเล่า เมฆหมอก ยังหลอกลวง
ดึงใครล่วง เลยได้ ก็ไม่ไหว
ยังไม่พ้น ทุกข์ทน หม่นหมองใจ
พ้นเมฆใน จึงจะเอก วิเวกจริง

ดูป่วยการ ที่จะผ่าน เพียงเมฆกาย
ไม่ทุกข์ทน มากมาย ดอกชายหญิง
ส่วนเมฆจิต ปิดบัง ควรชังชิง
ยิ่งกว่าลิง หลอดเจ้า ทำเราเพลีย

อันเมฆกาย ที่จะกลาย เป็นเมฆจิต
ก็เพราะความ ขุ่นคิด จนจิตเสีย
ถ้ารู้เท่า ทันทั่ว ไม่งัวเงีย
หยุดนัวเนีย ก็เย็นเหลือ เหนือเมฆเอ
หมวด : การงาน
หัวข้อที่ : 17 อะไรที่ไหน

คำกลอน

อันความงาน มีอยู่ตาม หมู่ซากผี
อันความดี อยู่ที่ละ สละยิ่ง
ความเป็นพระ อยู่ที่เพียร บวชเรียนจริง
นิพพานดิ่ง อยู่ที่ตาย ก่อนตายเอยฯ
หมวด : เตือนตน
หัวข้อที่ : 18 หลักของคนทุกวันนี้

คำกลอน

ถ้าเอาเปรียบ เขาไม่ได้ ก็ว่า “ไม่ถูก”
ถ้าจูงจมูล ได้ทุกที ก็ว่า “ดีเหลือ”
ถึงวันดี เกิดมี เกลือจิ้มเกลือ
ร้องว่า “เบื่อ” โลกอะไร? ไม่เป็นธรรม

คนพวกนี้ มีโลก ของตัวเอง
ไปตามเพลง ของกิเลส ที่อุปถัมภ์
ไม่ยอมรับ อะไรหมด แม้กฏกรรม
ความเป็นธรรม นั้นคือ “ได้ ตามใจตัว”

ไกลจากสัตว์ ไปทุกที ที่ว่าเจริญ
หาส่วนเกิน มาเทิดไว้ ใส่เกล้าหัว
ใช้สงคราม ตัดสินความ ไม่คร้ามกลัว
ว่าความชั่ว จะไหม้โลก เป็นโคกไฟฯ
หมวด : เตือนตน
หัวข้อที่ : 19 ยึดมั่นมันกัด

คำกลอน

ชอบยึดมั่น ระวังมัน จะกัดเอา
เพราะความเขลา ยึดมั่น มีตัณหา
อุปาทาน กอดรัด มัดวิญญาณ์
อยู่ดีดี ก็เป็นบ้า มาทันที

ยึดสิ่งใด สิ่งนั้น แหละมันกัด
กิน,กาม,เกียรติ สารพัด กลีหรือ ศรี
หรือแม้บุตร ภรรยา และ สามี
ความชั่วดี บุญหรือบาป จงทราบกัน

แม้รสสุข ที่อร่อย อยู่กับใจ
ชั่นที่อร่อย แน่นิ่งไป, ถ้ายึดมั่น
จะกลายเป็น ยักษา ขึ้นมาพลัน
แล้วห้ำหั่น กัดเอา อย่าเขลา
หมวด : เตือนตน
หัวข้อที่ : 20 บาปใหญ่-บาป

คำกลอน

คิดว่าดี กว่าเขา ซิเราแย่
มันเพียงแต่ ดีกว่าคน ที่บาปใหญ่
ส่วนตัวเอง บาปลึก นึกให้ไกล
มันบาปเบา อยู่เมื่อไร ให้นึกดู

เขาติดซ้าย, เราติดขวา, ถ้ามานึก
มันยังติด เหลือลึก กันทั้งคู่
แม้ติดซ้าย เลวกว่า ไม่น่าดู
แต่ติดขวา มันก็หรู อยู่เมื่อไร

มันเพียงแต่ ดีกว่าคน ที่ยังเลว
ส่วนตัวเอง ก็ยังเหลว ไม่ไปไหน
เฝ้าเกลียดซ้าย รักขวา เป็นบ้าใจ
มันก็ไฟล่ พลัดห่าง ทางนิพพานฯ

ค้นพบหัวข้อธรรมทั้งหมด 183/183 หัวข้อธรรม
แสดงหัวข้อธรรมหน้าละ 20 หัวข้อธรรม ขณะนี้คุณอยู่หน้าที่ 1/10
|<หน้าแรก    <ก่อนหน้านี้    หน้าต่อไป>    หน้าสุดท้าย>|
หน้า 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10

 
 
 
 
 
 
 
 

ขณะนี้มีคน Online อยู่  950 คน